งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน/การศึกษาเทียบระดับกศน.หล่มสัก
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556
มารู้จักอาเซียนกันเถอะ
ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยน
การจัดตั้ง
สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอา เซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
วัตถุประสงค์
ปฏิญญา อาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติใน โอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558
สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอา เซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
วัตถุประสงค์
ปฏิญญา อาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติใน โอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558
ดอกไม้ประจําชาติอาเซียน 10 ประเทศ
1. บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน
กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี
ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) : ดอกจำปาลาว
ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย
5. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง
สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย
6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว
ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
8. ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว
ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง
10. สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ
รู้จักกันไปแล้วสำหรับดอกไม้ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ที่หลายดอกก็คุ้นหน้าคุ้นตากันดีและเคยเห็นในประเทศไทยอยู่บ้าง หากพบเจอเพื่อนร่วมประชาคมอาเซียนที่แวะมาเยี่ยมเยียนเมืองไทยแล้วล่ะก็ ลองมอบดอกไม้เหล่านี้ให้เพื่อเป็นการต้อนรับ ก็คงจะสร้างความปลื้มใจให้ไม่น้อยอยู่เหมือนกันนะ
การจัดกิจกรรมงานการศึกษาตามอัธยาศัย
บ้านหนังสืออัจฉริยะ
โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1
เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในโอกาสที่จะเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบในปี พ.ศ. 2558
1.2
เพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชน
โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล
1.3
เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบบ้านหนังสืออัจฉริยะหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
และองค์ความรู้ที่สนใจได้อย่างต่อเนื่อง
2. เป้าหมาย
2.1
บ้านหนังสืออัจฉริยะหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่ปกติทั่วประเทศ
จำนวน 40,000 แห่ง
2.2
บ้านหนังสืออัจฉริยะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา
นราธิวาส สตูล และใน 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 1,800 แห่ง
2.3 ห้องสมุดประชาชน
“เฉลิมราชกุมารี” จำนวน 87 แห่ง
3. แนวทางการดำเนินงาน
3.1 สำรวจ
และจัดทำฐานข้อมูลความสนใจ ความต้องการด้านการอ่านของประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน
ตลอดจนศึกษาสภาพการเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ของประชาชนหรือผู้รับบริการในแต่ละหมู่บ้าน
3.2
สำรวจข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งบ้านหนังสืออัจฉริยะในหมู่บ้าน/ชุมชน
ตลอดจนจัดทำเกณฑ์การคัดสรรสถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งบ้านหนังสืออัจฉริยะประจำหมู่บ้าน/ชุมชน
3.3
จัดตั้งบ้านหนังสือในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
และจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์รายวัน นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายปักษ์ หนังสือ
และสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ให้กับบ้านหนังสืออัจฉริยะและห้องสมุดประชาชน
“เฉลิมราชกุมารี”
ที่เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่
3.4
ดำเนินการจัดกิจกรรม
และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้เข้าถึงทุกครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบ
รวมทั้งการช่วยกันดูแลรักษาห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
และพัฒนาบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นบ้านหนังสือเสริมสร้างอัจฉริยภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน
3.5
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านในฐานะที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพส่วนบุคคล
และความเข้มแข็งของชุมชนและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
และห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”
3.6 นิเทศ ติดตาม
สรุป และรายงานผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4.
ระยะเวลาดำเนินการ ตุลาคม 2555-กันยายน 2556
ประกาศรับสมัครนักศึกษา 1/56
ประกาศศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหล่มสัก
เรื่อง การรับสมัครนักศึกษา
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ ประจำภาคเรียนที่ ๑ / ๒๕๕๖
ด้วย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหล่มสัก มีความประสงค์จะเปิดรับสมัครผู้สนใจสมัครเรียนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช๒๕๕๑ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีรายละเอียดดังนี้
คุณสมบัติของผู้สมัคร
๑
มีสัญชาติไทยหรือมีคุณสมบัติ
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐาน วัน เดือน ปี เกิด
ในการรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาพุทธศักราช ๒๕๓๕
๒
เป็นผู้พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ (หรือผู้มีอายุย่างเข้าปีที่สิบหก)
๓ มีพื้นความรู้ในแต่ระดับดังนี้
ก. ระดับประถมศึกษา
ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
๒ รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๓
รูป ไม่สวมแว่นตาดำ
และไม่สวมหมวก
สวมเสื้อสีขาวมีปกหรือชุดสุภาพ
ถ่ายไม่เกิน ๖
เดือนและไม่ใช่รูปถ่ายประเภทโพลาลอยด์ เพื่อใช้ติดใบสมัคร ๑
รูป ติดบัตรประจำตัวนักศึกษา ๑
รูป ติดทะเบียนสะสม ๑ รูป
๓ สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง
ที่มีชื่อบิดามารดา พร้อมฉบับจริงไปแสดง
๔
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง
๕ สำเนาหลักฐานการศึกษาเดิม พร้อมตัวจริงไปแสดง
๖.สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมฉบับจริงไปแสดงพร้อมหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อนามสกุล ทะเบียนสมรส
หนังสือสำคัญหารหย่า (ถ้ามี)
ค่าลงทะเบียน
ทั้งระดับประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย เรียนฟรีทุกระดับ
วัน เวลารับสมัครและลงทะเบียน
ตั้งแต่วันที่ ๑ จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน
๒๕๕๖ เวลา
๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐
น.
ไม่เว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (รับสมัครทุกวัน )
ผู้สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียด ได้ที่
กศน.ตำบลทุกแห่ง และ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหล่มสัก ตามวันเวลาดังกล่าว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)